9.การดัดแปลงพันธุกรรมพืชและสัตว์มีประโยชน์อย่างไร
เพิ่มความหลากหลายทางชีวภาพ
เกิดความคุ้มทุนทางการเมืองและเศรษฐกิจ
สร้างความปลอดภัยและอนาคตของพันธุกรรมโลก
ถูกทุกข้อที่กล่าวมา
10.การแลกเปลี่ยนหนี้เพื่อธรรมชาติระหว่างประเทศที่กำลังพัฒนากับองค์กรผู้ลงทุนในการอนุรักษ์ธรรมชาติเกิดขึ้นด้วยวัตถุประสงค์ใด
เพื่อให้เกิดการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า
คุ้มครองความหลากหลายทางชีวภาพ
ช่วยเหลือประเทศกำลังพัฒนาที่มีปัญหาสิ่งแวดล้อม
เพื่อสร้างความสัมพันธ์ทางธรรมชาติให้แก่ประเทศกำลังพัฒนา
11.ข้อใดคือทางเลือกที่ดีที่สุดต่อการดำเนินการประเมินความสำคัญของพื้นที่เพื่อการอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพ
พื้นที่มีความหลากหลายของพันธ์พืชและพันธ์สัตว์
พื้นที่มีพันธ์พืชและพันธ์สัตว์อยู่ไม่กี่แห่งในโลก
พื้นที่ที่มีพันธ์พืชและพันธ์สัตว์อยู่น้อยมาก
พื้นที่ที่เป็นป่าชุ่มน้ำ
12.ข้อใดคือส่วนจำเป็นในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ พลังงานและสิ่งแวดล้อมทั้งในระดับประเทศและโลก
การประเมินสถานการณ์ของสิ่งแวดล้อม
ความร่วมมือเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศ
ข้อมูลข่าวสารที่ถูกต้องเที่ยงตรงและสมบูรณ์
งบประมาณในการดำเนินการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
13.พ.ร.บ.ส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ.2535 ตามมาตราที่ 6 และ พ.ร.บ.ข้อมูลข่าวสารของทางราชการ พ.ศ.2540 ให้สิทธิแก่ประชาชนตามข้อใด
การให้อำนาจแก่เอกชนในการจัดทำประชาพิจารณ์ด้านสิ่งแวดล้อม
การให้อำนาจแก่ประชาชนในการตรวจสอบข้อมูลลับของทางราชการเกี่ยวเนื่องกับสิ่งแวดล้อม
การเผยแพร่ข่าวด้านสิ่งแวดล้อมโดยเสรี
การเพิ่มอำนาจและความสามารถของประชาชนในการเข้าถึงข่าวสารเพื่อการมีส่วนร่วมในการจัดสิ่งแวดล้อม
14.การเปลี่ยนภูเขาเป็นที่ราบเพื่อการเพาะปลูกในแต่ละพื้นที่ของไทยและของโลกนิยมใช้วิธีการเพาะปลูกแบบขันบันไดด้วยเหตุผลสำคัญในข้อใด
เพราะขาดแคลนพื้นที่ราบ
รักษาความอุดมสมบูรณ์ของดิน
ป้องกันการพังทลายของผิวหน้าดิน
เพื่อให้สะดวกต่อการทำการเกษตร
15.พ.ร.บ.ส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ.2539 มาตรา 43 กำหนดให้พื้นที่ต่อไปนี้เป็นเขตอนุรักษ์ ยกเว้นข้อใด
พื้นที่ธรรมชาติทีอาจได้รับผลกระทบกระเทือนจากกิจกรรมของมนุษย์
พื้นที่เพื่อการสนับสนุนและส่งเสริมการท่องเที่ยว
พื้นที่ที่มีระบบนิเวศตามธรรมชาติที่ต่างจากที่อื่น
พื้นที่ต้นน้ำลำธาร
16.การทำเกษตรในเขตแห้งแล้งและขาดความอุดมสมบูรณ์ในภูมิภาคเอเซียตะวันตกเฉียงใต้ใช้เทคโนโลยีในด้านใด
การใช้น้ำทะเลกลั่นเป็นน้ำจืด
การสร้างอ่างเก็บน้ำ
ขุดคูคลองส่งน้ำ
การทำฝนเทียม
17.การเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรมที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะของไทยหรือประเทศต่างๆ ในโลกปัจจุบันเกิดจากปัจจัยในข้อใด
ความต้องการวัฒนธรรมที่เป็นสากล
การสนองความต้องการจำเป็นของมนุษย์
การแสวงหาปัจจัยปรุงแต่งชีวิตมนุษย์ให้สูงขึ้น
ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีการสื่อสารและสารสนเทศ
18.นักเรียนสามารถปฏิบัติตนตามแนวทางอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมทางสังคมในข้อใด
หลีกเลี่ยงและไม่ใช่สินค้าที่เป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อม
ไม่ทิ้งขยะที่ย่อยสลายในแหล่งท่องเที่ยวธรรมชาติ
ศรัทธาและปฏิบัติตนตามคุณธรรมของศาสนา
เดินทางโดยใช้ระบบบริการขนส่งมวลชน
19.วิธีการใช้ทรัพยากรเพื่อการพัฒนาสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืนคือข้อใด
ใช้ทรัพยากรโดยคำนึงถึงระบบนิเวศ
ประดิษฐ์คิดค้นและใช้เทคโนโลยีสะอาด
ใช้อย่างประหยัด นำของที่ใช้แล้วมาใช้อีก
ไม่ลอกเลียนแบบวัฒนธรรมอื่นที่เป็นปัญหาต่อสิ่งแวดล้อม
20.จากการคำนวณสรุปพบว่า ปี 2537 ไทยมีการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เป็นปริมาณ 24 ล้านตัน นักเรียนคิดว่าแนวทางแก้ปัญหาที่ดีที่สุดคือข้อใด
จัดการขยะมูลฝอย และบำบัดน้ำเสียเพื่อลดก๊าซมีเทน
ปลูกป่าและป่าธรรมชาติเพื่อดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์
ขอความช่วยเหลือจากประเทศที่พัฒนาแล้วในการลดปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์
ถูกทั้งข้อ ก และ ข
21.ในฐานะที่นักเรียนเป็นสมาชิกของสังคม และเป็นผู้ก่อปัญหาสิ่งแวดล้อมทั้งโดยทางตรงและอ้อม หน้าที่ของนักเรียนในการอนุรักษ์ได้อย่างถาวรคือข้อใด
ศึกษาเรื่องนิเวศวิทยา
เลือกการดำรงชีวิตแบบง่ายๆ
เข้าร่วมกิจกรมรณรงค์การลดมลพิษเมื่อมีโอกาส
ซื้อสินค้าจากโฆษณาทีวี ที่เป็นการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
22.นักเรียนคิดว่าแนวคิดเทคโนโลยีสะอาด ไปใช้ในการดำรงชีวิตประจำวันของนักเรียนอย่างไร
ใช้สบู่เหลวที่ไม่เข้มข้นแทนการใช้สบู่ก้อน
อ่านหนังสือตอนดึก นอนตอนกลางวัน
ซื้ออาหารถุงไว้รับประทานที่โรงเรียน
ใช้น้ำจากก๊อกน้ำในการล้างภาชนะ